Sunday, September 4, 2011

การเลือกเพชร อย่างง่าย ควรดูอะไรบ้าง Diamond

การเลือกเพชร อย่างง่าย ควรดูอะไรบ้าง Diamond การเลือกเพชร อย่างง่าย ควรดูอะไรบ้าง Diamond
การเลือกเพชร อย่างง่าย ควรดูอะไรบ้าง เลือกเพชรอย่างไรดี นี่เป็นหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยที่สุดสำหรับคู่บ่าวสาวเลยนะครับเนี่ย ผมเลยมีวิธีการง่ายๆ มาบอกเกี่ยวกันการเลือกซื้อเพชรสักเม็ด เอาแบบไม่ต้องเป็นโปร ก็เลือกเป็นได้ครับ แต่ในที่นี้ยังไม่ได้รวมถึงเรื่องราคานะครับ

ว่ากันตามหลักสูตรก่อนคือ 4Cs ทั้งนี้การเลือกเพชรตามนี้ ผมหมายถึงเพชรที่มีเซอร์เท่านั้นนะครับ เพชรที่ไม่มีเซอร์เชื่อถือไม่ได้ครับ ใบรับรองของร้านค้าก็ไม่นับเป็นเซอร์นะครับ

1. Carat Weight (น้ำหนัก หรือขนาดของเพชรนั่นเองครับ)
อันนี้เลือกง่ายครับดูตามงบประมาณครับ หรือใหญ่จนกว่าจะพอใจก็ได้ครับ
ผมประมาณขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้ตามน้ำหนักหลักๆ ดังนี้ครับ
- เพชรน้ำหนัก 0.20 กะรัต (หรือเรียกอีกอย่างว่า 20 สตางค์) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 3.7-3.8 มม.
- เพชรน้ำหนัก 0.30 กะรัต (หรือเรียกอีกอย่างว่า 30 สตางค์) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 4.3-4.4 มม.
- เพชรน้ำหนัก 0.40 กะรัต (หรือเรียกอีกอย่างว่า 40 สตางค์) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 4.7-4.8 มม.
- เพชรน้ำหนัก 0.50 กะรัต (หรือเรียกอีกอย่างว่า 50 สตางค์, ครึ่งกะรัต) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 5.1-5.2 มม.
- เพชรน้ำหนัก 0.70 กะรัต (หรือเรียกอีกอย่างว่า 70 สตางค์) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 5.7-5.8 มม.
- เพชรน้ำหนัก 0.90 กะรัต (หรือเรียกอีกอย่างว่า 90 สตางค์) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 6.1-6.2 มม.
- เพชรน้ำหนัก 1.00 กะรัต (1 กะรัตมี 100 สตางค์) เส้นผ่าศูนย์กลางจะประมาณ 6.4-6.5 มม.
หมายเหตุ: ดูจากตัวเลข แต่ละขนาดอาจจะต่างกันไม่มากแต่ดูเม็ดจริงมักจะดูออกนะครับว่าขนาดต่างกัน

2. Cut Grade (คุณภาพการเจียรระไน)
ควรเลือกโดยดูจากใบรับรองคุณภาพเพชร (Certificate) ที่ออกโดยสถาบันอัญมณีศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเช่น GIA, HRD, IGI ฯลฯ ในเซอร์จะมีตัวเลขวุ่นวายมากมายอาจทำให้งง แต่ไม่ต้องสนใจมากก็ได้ครับ การเลือกให้ดูเรื่องหลักๆ ก็พอ โดยดูที่ Cut, Polish, Symetry, หรือ Proportion, Finish ให้ได้ Very Good ขึ้นไปครับ (ได้ Good ก็พอได้แต่คงไม่สวยเท่า) เดี๋ยวนี้จะมีเรื่องการเจียรได้ลักษณะเป็น ลูกศรกับหัวใจ Hearts&Arrow (H&A) คือเหลี่ยมการเจียระไนที่ได้รับการยอมรับว่าสวยที่สุดในขณะนี้อยู่ครับ โดยในใบเซอร์อาจจะระบุไว้ หรือไม่ระบุก็เป็นไปได้ครับ เวลาดูผ่านกล้องดู H&A แล้วด้านใต้เพชรจะเป็นรูปหัวใจเท่าๆกันทั้งแปดด้าน เหมือนกับไอคอนที่ผมใช้อยู่นั่นแหละครับ หากมองจากด้านบนจะเป็นรูปลูกศรทั้งแปดด้านเท่าๆ กันเช่นกันครับ

3. Color (สี หรือความขาวของเพชร) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเพชรขาวนะครับ
สีของเพชร จะเริ่มที่ขาวที่สุดคือ D แล้วไล่ลงไปเรื่อยๆ ตามนี้ E, F, G, H, I, J...................Z ส่วนคนไทยเรียกว่าน้ำก็เริ่มจากน้ำ 100 แล้วก็ไล่ลงไปเรื่อยๆ เป็น 99, 98, 97, 96, 95, 94........... เช่นกัน
ตามที่กล่าวมาเพชรน้ำ 100 ก็คือ สี D, น้ำ 99 ก็คือ E, 98 ก็คือ F น้ำยิ่งสูงยิ่งขาว น้ำยิ่งต่ำยิ่งเหลืองครับ การเลือกสีหากใช้ตัวเรือนเป็นทองคำขาว (White Gold) หรือ Platinum ควรเลือกเพชรสี D, E, F (น้ำ 100, 99, 98) ครับ เนื่องจากหากเราใช้เพชรที่ค่อนข้างเหลืองบนตัวเรือนขาวจะเป็นการทำให้เห็นว่าเพชรเหลืองได้ง่ายขึ้น ส่วนหากใช้ตัวเรือนสีทอง (Yellow Gold) ก็อาจใช้เพชรได้ถึงสี G, H, I (น้ำ 97, 96, 95) ก็อาจจะพอดูไม่เหลืองได้ครับ ผมแนะนำแบบการเลือกที่ดีไว้ก่อนครับใครชอบเพชรเหลืองก็แล้วแต่ความเห็นแต่ละท่านไปนะครับ ส่วนตัวผมเห็นความสำคัญของสีมากครับ เพราะสีสามารถดูออกว่าเหลืองได้ด้วยตาเปล่า เวลาใครถามก็ตอบได้อย่างภูมิใจว่าน้ำ 99, น้ำ 100 ครับ

4. Clarity (ความสะอาด หรือสิ่งเจือปนในเพชร) จะเรียงลำดับตามความสะอาดสุดที่มองไม่เห็นสิ่งเจือปน (ตำหนิ) ด้วยกล้องขยาย 10 เท่าลงไปจนสะอาดน้อยสุด ได้ตั้งแต่ IF (LC), VVS1, VVS2, VS1, VS2, SI1, SI2, I1, I2, I3 สำหรับในอเมริกา และยุโรป จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับแค่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นก็เพียงพอ เนื่องจากไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อเพชรที่สะอาดโดยที่ไม่มีผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่า (คือระดับ SI1 ขึ้นมา) แต่ผมว่าเลือกสะอาดขึ้นอีกนิดสบายใจกว่าครับคือ เลือกเพชรในระดับที่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งเจือปนได้ด้วยตาเปล่า คือไม่ต่ำกว่า VS2 และตำหนิไม่มีสี (เลือกได้ตั้งแต่ IF-VS2) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณด้วยครับยิ่งสะอาดก็ยิ่งราคาสูงครับ ใครชอบเพชรสะอาดๆ ตำหนิน้อยก็แล้วแต่ความเห็นแต่ละท่านไปนะครับ ส่วนตัวผมหากไม่ต่ำกว่า VS2 และตำหนิไม่มีสี ผมก็โอเคละ ขอให้เพชรขาวๆ และเจียรสวยๆ ไว้ก่อน ไม่ต้องจ่ายแพงโดยไม่ได้เพชรที่ดูสวยเพิ่มขึ้นมาเลย

5. อีกเรื่องที่มักจะไม่ถูกกล่าวถึงใน 4Cs แต่ควรต้องดูคือเลือกเพชรที่ไม่มี Fluoresence (ไม่มีการเรืองแสง) หรือหากมีก็ไม่ควรมีการเรืองแสงเกินระดับ Faint, Slight (จางๆ )

6. สุดท้ายก็เรื่องราคาควรดูราคาอ้างอิงจาก Rapaport เป็นหลักครับ หากไม่ทราบราคาที่เหมาะสม ก่อนซื้อเพชรก็แวะมาสอบถามผมที่นี่ก็ได้ครับ

http://www.thaiweddingmall.com/wedding/content/Webboard_topic.asp?TopicID=Topic-07081742151260&BoardID=Board-06082921310022&sp=TWM-05112917393400144
http://seesite.blogspot.com/2010/10/blog-post_24.html
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...